วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

บทความปลายภาคที่ 4


บทความปลายภาคที่ 4



               10 ทักษะไอทีที่นายจ้างต้องการมากที่สุดในปี 2015



เว็บไซต์ Computer world’s สหรัฐฯ ได้ทำการสำรวจความต้องการของผู้ประกอบการในการจ้างพนักงานไอทีเข้าทำงานในปี 2015 จำนวน 194 ราย พบว่า 10 ทักษะไอทีที่นายจ้างต้องการมากที่สุด ได้แก่ ทักษะด้านงาน Programming และ application development ซึ่งคงอันดับ 1 เช่นเดียวกับเมื่อปีที่แล้ว

1. 48% มองหาคนที่มีทักษะด้าน Programming/application development
คงที่อันดับ 1 เมื่อปีที่แล้ว
          โปรแกรมเมอร์มีส่วนสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้า คนที่มีความถนัดด้านการพัฒนาโปรแกรมและมีประสบการณ์มากพอที่จะจัดการความต้องการที่ซับซ้อนได้เป็นอย่างดีกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมาก

2. 35% มองหาคนที่มีทักษะด้าน Project management
ขยับขึ้นจากอันดับ 5 เมื่อปีที่แล้ว
          จะเห็นว่าในปีนี้มีความต้องการ Project Manager เพิ่มขึ้นถึง 4 อันดับ โดย Project Manager ที่ดีต้องมีทั้งความเฉียบแหลมทางธุรกิจและความรู้ด้านเทคโนโลยีควบคู่กัน นอกจากจะสามารถดูแลโครงการขนาดใหญ่ได้แล้ว ยังจำเป็นต้องมีประสบการณ์เป็นผู้นำในการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบต่าง ๆ เช่น เปลี่ยนจากวิธีดั้งเดิมแบบ Waterfall เป็น Agile เพื่อให้งานสั้นลง ประหยัดเวลา และประหยัดงบประมาณ ใครมีคุณสมบัติเหล่านี้รับรองว่าไปได้ไกลแน่นอน

3. 30% มองหาคนที่มีทักษะด้าน Help desk/technical support
ตกจากอันดับ 2 เมื่อปีที่แล้ว
          ความต้องการ Help desk และ technical support ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตราบใดที่ยังมีการพัฒนาอุปกรณ์และและแอพลิเคชั่น ก็ยังคงต้องการความช่วยเหลือจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญงาน IT Support อยู่นั่นเอง

4. 28% มองหาคนที่มีทักษะด้าน Security/compliance governance
ขยับขึ้นจากอันดับ 7 เมื่อปีที่แล้ว
          ความปลอดภัยด้านไอทีหมายถึงความปลอดภัยของธุรกิจ ปัจจุบันผู้ประกอบการยอมลงทุนมากขึ้นในเรื่องความปลอดภัย จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ทักษะด้านงาน IT Security และ compliance governance เป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้นในปีนี้ องค์กรต้องการคนที่มีความชำนาญที่จะช่วยรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ป้องกันภัยคุกคาม และอุดช่องโหว่ทางไอทีให้แก่บริษัท

5. 28% มองหาคนที่มีทักษะด้าน Web development
ไม่ติดอันดับเมื่อปีที่แล้ว
          ความเชี่ยวชาญในการพัฒนาเว็บเป็นหนึ่งในทักษะที่หายากที่สุด เนื่องจากความต้องการของฝ่ายนายจ้างกับลูกจ้างไม่สัมพันธ์กัน มีช่องว่างระหว่างสิ่งที่บริษัทต้องการจะทำ กับความสามารถในการดำเนินการของ Web Developer ตามความต้องการนั้น

6. 26% มองหาคนที่มีทักษะด้าน Database administration
คงที่อันดับ 6 เมื่อปีที่แล้ว

          การบริหารฐานข้อมูลเป็นบทบาทที่เหนื่อยและหนัก ยิ่งบริษัทที่ต้องจัดการกับ Big Data ยิ่งต้องการตัวคนที่มีทักษะด้านงาน Database ซึ่งไม่ใช่แค่สามารถจัดเก็บข้อมูลมหาศาล แต่ต้องเข้าใจว่าฐานข้อมูลเหล่านั้นถูกจัดเก็บอย่างไรด้วย

7. 24% มองหาคนที่มีทักษะด้าน Business intelligence/analytics
ขยับขึ้นจากอันดับ 8 เมื่อปีที่แล้ว
          เมื่อผู้ประกอบการหันมาสนใจ Big Data มากขึ้น จึงไม่แปลกที่ Business intelligence/analytics จะเป็นที่ต้องการขึ้นมาด้วย เนื่องจากบริษัทต้องการคนที่จะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นในเชิงลึก และนำข้อมูลที่ได้มาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด

8. 24% มองหาคนที่มีทักษะด้าน Mobile applications and device management
ตกจากอันดับ 4 เมื่อปีที่แล้ว
          ยิ่งความต้องการใช้งาน mobile apps เพิ่มขึ้น องค์กรยิ่งต้องการคนพัฒนาแอพให้ทันต่อความต้องการของตลาด อย่างไรก็ดี การจ้างพนักงานใหม่อาจไม่สามารถตอบโจทย์เพียงพอ หลายองค์กรจึงเลือกที่จะเทรนด์พนักงานที่มีอยู่ให้สามารถดำเนินการตามความต้องการได้อย่างทันท่วงที เพราะเหตุนี้ทักษะนี้จึงตกอันดับลงมา

9. 22% มองหาคนที่มีทักษะด้าน Networking
ตกจากอันดับ 3 เมื่อปีที่แล้ว
          ยังคงมีความต้องการคนไอทีที่มีทักษะด้านงาน Networking ในปีนี้ สอดคล้อดกับผลสำรวจของ Robert Half Technology IT Hiring Forecast and Local Trend Report พบว่า 57% ระบุว่า network administration เป็นทักษะที่องค์กรต้องการอย่างมาก เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียที่ระบุว่า ทักษะ Networking เป็น 1 ใน 7 ทักษะที่หน่วยงานด้านไอทีต้องการ

10. 20% มองหาคนที่มีทักษะด้าน  Big data
ขยับขึ้นจากอันดับ 11 เมื่อปีที่แล้ว
          เว็บไซต์หางานด้านไอทีในสหรัฐฯ เปิดเผยผลสำรวจเมื่อเดือนกันยายน 2557 ว่า มีการลงประกาศงานในตำแหน่งที่เกี่ยวกับ Big data เพิ่มขึ้นถึง 56% จากปีที่ผ่านมา ซึ่งความต้องการที่มีมากขึ้นนี้ทำให้ค่าตอบแทนสำหรับคนที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้สูงตามไปด้วย


                                             อ้างอิง (http://th.jobsdb.com/th-th/articles/ทักษะไอทีปี-2015) 15/06/2015

บทความปลายภาคที่ 3

บทความปลายภาคที่ 3 10 เคล็ดลับ พรีเซ็นต์สไตล์ สตีฟ จ็อบส์


                    10 เคล็ดลับ พรีเซ็นต์สไตล์ สตีฟ จ็อบส์


  สตีฟ จ็อบส์ คือผู้นำเสนอที่เก่งมากคนหนึ่ง มีหลายต่อหลายเวทีที่เขาสามารถสร้างความประหลาดใจให้กับแขกในงาน โดยเฉพาะบนเวทีประจำอย่าง Macworld ทุกครั้งที่เขาขึ้นเวทีนี้ จะต้องได้ยินเสียง ว้าว! เสียงหัวเราะ และเสียงปรบมือ หรือแม้แต่ความเงียบสงบเมื่อคนดูใจจดใจจ่อยู่กับการถ่ายทอดสดบนจอขนาดใหญ่บนเวที ทุกครั้งที่ สตีฟ จ็อบส์ ขึ้นเวที เขาก็มักจะสร้างความประทับให้กับผู้ชมได้อย่างดี

   และต่อไปนี้คือ เคล็ดลับ 10 ประการ ของการนำเสนอที่จะช่วยสะกดผู้ฟังให้ถูกตรึงอยู่กับการพรีเซ็นเตชัน
  1. กำหนดหัวข้อหรือโครงเรื่อง “There is something in the air today.”เป็นสำนวนที่จ็อบส์กล่าวเปิดงาน Macworld โดยเขาเซ็ตธีมหรือหัวข้อการอภิปราย และมีการซ่อนสินค้าตัวสำคัญเอาไว้เปิดตัวทีหลัง นอกจากจะต้องสร้างธีมของตัวเองแล้ว ยังต้องสามารถพูดให้จบภายในเวลาที่กำหนดด้วย
  2. กระตุ้นความสนใจด้วยการสาธิตให้เห็นจริงจ็อบส์ชอบที่จะแสดงความหลงใหลของเขาในด้านการออกแบบคอมพิวเตอร์ เพราะผู้ฟังต้องการได้ยินหรือเห็นอะไรที่น่าประทับใจ ไม่ใช่มานั่งหลับเพราะการพรีเซ็นต์ที่ขาดแรงดึงดูด ให้คุณคิดถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวของฟีเจอร์ที่เป็นจุดขายในตัวสินค้า ให้พูดถึงมันอย่างสะใจเลยว่า “เจ๋งมาก”, “ยอดไปเลย”, “เยี่ยมที่สุด” ถ้าคุณไม่ได้แสดงความกระตืนรือร้นเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ คุณจะคาดหวังอะไรจากผู้ฟังของคุณ
  3. เตรียมโครงเรื่องของภาพคร่าวๆ จ็อบส์มีวิธีที่จะพูดถึงโครงเรื่องในการพรีเซ็นต์ด้วยคำพูดที่ว่า “วันนี้ผมมีอยู่ 4 เรื่องที่อยากจะมาบอกกับคุณ ขออนุญาตเริ่มจาก…” จากนั้นก็เริ่มพูดไปตามโครงเรื่องที่ได้วางเอาไว้ แล้วใช้คำพูดเปิดและปิดในแต่ละเรื่องจนครบทั้ง 4 ตอน ซึ่งก็ทำให้รับรู้รับฟังในแต่ละช่วงอย่างดี
  4. ทำให้จำนวนมีความหมายเมื่อจ็อบส์ประกาศว่า Apple สามารถขาย iPhones ได้ 4 ล้านเครื่องแล้วจนถึงวันนี้ เขาไม่ได้ละเลยกับจำนวนที่ฟังแล้วอาจดูเหมือนไม่มีอะไร แต่เขาได้เพิ่มเติมมุมมองใหม่เข้าไปว่า “นั่นคือ iPhones ถูกขายเฉลี่ยวันละ 20,000 เครื่องเลยทีเดียว” เขาเจาะลึกลงในรายละเอียดของตลาดสมาร์ทโฟนในอเมริกาว่า มันหมายถึงอะไรเมื่อมองในภาพรวมของตลาด มันน่าชื่นชมแค่ไหนกับยอดขายที่เกิดขึ้นนี้ โดยบอกกับผู้ฟังว่า ส่วนแบ่งตลาดที่ Apple ได้มา มันเท่ากับส่วนแบ่งของคู่แข่ง 3 อันดับแรกรวมกัน เมื่อได้ฟังแล้วอาจทำให้ผู้ฟังถึงกับตะลึงในความสำเร็จเลยทีเดียว
  5. สร้างช่วงเวลาสำคัญที่จะทำให้ทุกคนจดจำมันไปอีกนานมันคือช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของการบรรยายที่จะต้องให้ทุกคนพูดถึงมัน ทุกครั้งที่ สตีฟ จ็อบส์ ขึ้นพูด เขามักจะมีฉากสำคัญเสมอ ซึ่งในงาน Macworld ปีล่าสุด ซึ่งเป็นงานเปิดตัวของ MacBook Air เพื่อแสดงให้ทุกคนเห็นว่า “เจ้านี่มันบางแค่ไหน” จ็อบส์ได้พูดว่า “มันบางซะจนใส่ลงในซองกระดาษได้เลย” จากนั้นจ็อบส์ก็เปิดซอง แล้วค่อยๆ ดึงมันออกมาจากซองให้ทุกๆ คนได้เห็นแล็ปท๊อป MacBook Air แล้วอะไรคือช่วงเวลาที่น่าจดจำในการพรีเซ็นของคุณ? แล้วทำให้มันมีเอกลักษณ์กว่าช่วงก่อนหน้านี้ให้จงได้
  6. สร้างวิชวลสไลด์เพื่อจำลองภาพขณะที่นักพูดทั้งหลายมักจะทำสไลด์ที่เต็มไปด้วยข้อมูล ตัวหนังสือ และชาร์ต แต่จ็อบส์กลับทำตรงกันข้าม เขาจะใส่ตัวหนังสือน้อยมาก โดยส่วนมากแล้ว สไลด์ของจ็อบส์จะใส่ภาพที่ดูสบายๆ เพียงภาพเดียว ในบางครั้งก็ไม่มีภาพบนสไลด์ แต่จ็อบส์จะบอกเล่าด้วยประโยคอย่างเช่น “There is something in the air.” มันเลยกลายเป็นเทรนด์ของการพูดในที่สาธารณะที่จะมีการสร้างภาพให้ผู้ชมได้เห็นโดยใช้กราฟิกจำลองภาพขึ้นมา และใช้จุดบุลเล็ตตามด้วยข้อความสั้นๆ และตกแต่งด้วยกราฟิกที่สวยงาม
  7. เพิ่มเสน่ห์ด้วยการสอดแทรกโชว์การขึ้นพูดบนเวทีของจ็อบส์ มักจะเต็มไปด้วยโชว์ โดยเขาเน้นการสาธิตการใช้งานมากกว่าการบอกข้อมูลข่าวสารให้กับผู้ฟัง และด้วยสีสันการนำเสนอหลากหลายรูปแบบ ทั้งคลิปวีดีโอ, การสาธิต, และการเชิญแขกขึ้นมาร่วมสนุกบนเวที มันทำให้ผู้ฟังเพลิดเพลินและดึงดูดความสนใจได้ไม่น้อยเลย
  8. อย่าเหงื่อตกกับความผิดพลาดเล็กน้อยแม้ว่าคุณจะมีการเตรียมตัวอย่างดีที่สุดแล้วก็ตาม แต่ความผิดพลาดก็อาจเกิดขึ้นในระหว่างการพรีเซ็นต์ สตีฟ จ็อบส์ ที่ว่าเตรียมตัวมาอย่างดีก็เคยเจอปัญหาเช่นกัน ตอนนั้นเขาต้องการที่จะโชว์ภาพแบบสดๆ จากเว็บไซต์ แต่ปรากฏว่าจอกลายเป็นสีดำแทนที่จะเป็นภาพ จ็อบส์แก้ไขสถานการณ์ด้วยการยิ้มและพูดติดตลกว่า “เออ… ผมเดาว่า วันนี้ Flickr ไม่ได้เปิดบริการอัพโหลดภาพขึ้นเว็บ” หลังจากนั้นจ็อบส์ก็พูดถึงฟีเจอร์ใหม่ต่อทันที ฉะนั้นหากเกิดความผิดพลาดขึ้นมาเล็กๆ น้อยๆ ก็อย่าไปเสียเวลากับมัน
  9. ขายคุณประโยชน์ขณะที่พรีเซ็นเตอร์ส่วนใหญ่มักจะโฆษณาความสามารถของผลิตภัณฑ์ แต่ สตีฟ จ็อบส์ จะขายที่คุณประโยชน์ เช่น มีอยู่ช่วงนึงที่เขาแนะนำการเช่าภาพยนตร์ผ่าน iTunes โดยจ็อบส์ใช้คำพูดว่า “เราคิดว่า นี่เป็นทางที่ดีกว่าในการส่งรายชื่อภาพยนตร์เรื่องต่างๆ ให้กับลูกค้าของเรา” แล้วจ็อบส์ก็ขยายความเพิ่มเติมว่า “คุณสามารถสั่งซื้อเพลงและเลือกเฉพาะเพลงที่คุณชอบได้ ซึ่งจะมีให้เลือกเป็นพันๆ เพลง ฟังกันได้ทั้งชีวิตเลยทีเดียว แล้วเมื่อคิดถึงการดูภาพยนตร์แต่ละเรื่อง เราก็มักจะดูซ้ำกันสองสามครั้งเท่านั้น แบบนี้ เลือกเช่าเอาจะดีกว่า ไม่ต้องซื้อให้เปลือง แล้วก็ไม่ต้องเสียพื้นที่บนฮาร์ดดิสก์เพื่อเก็บภาพยนตร์” เน้นว่า ให้พูดถึงคุณประโยชน์ของทุกๆ บริการ และฟีเจอร์ของสินค้าให้ชัดเจนที่สุด
  10. ซ้อม, ซ้อม, แล้วก็ซ้อมสตีฟ จ็อบส์ จะฝึกซ้อมอย่างหนักก่อนจะถึงวันพรีเซ็นต์จริงๆ ทำให้การพรีเซ็นต์มีความต่อเนื่อง ตรงประเด็น ทำให้การพรีเซ็นต์ไม่น่าเบื่อ

                                                                                    อ้างอิง(http://th.jobsdb.com/th-th/articles/)15/7/2015

วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แบบฝึกหัดบทที่ 8 (กิจกรรม 8)

แบบฝึกหัดบทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม 

แบบฝึกหัดที่ 8


   บทที่  8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม                                                   กลุ่มเรียนที่ 4   

   รายวิชา กาารจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                                          รหัสวิชา 0026008

   ชื่อ-สกุล  นายพงศ์เทพ  ทรงคาศรี                                                                       รหัส 56010914267


คำชี้แจง  จงตอบคำถามต่อไปนี้

1) “นาย A ทำการเขียนโปรแกรมขึ้นมาโปรแกรมหนึ่งเพื่อทดลองโจมตีการทำงานของคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ โดยทำการระบุ IP-Address โปรแกรมนี้สร้างขึ้นมาเพื่อทดลองในงานวิจัย นาย B ที่เป็นเพื่อนสนิทของนาย A ได้นำโปรแกรมนี้ไปทดลองใช้แกล้งนางสาว C เมื่อนางสาว C ทราบเขาก็เลยนำโปรแกรมนี้ ไปใช้และส่งต่อให้เพื่อนๆ ที่รู้จักได้ทดลอง” การกระทำอย่างนี้เป็น ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมายใดๆ หรือไม่  หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย

ตอบ  เป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม คือ นาย B และนางสาว C ไม่ได้ทำการขออนุญาติ นาย A อย่างถูกกิจลักษณะ อาจทำให้นาย A เสียหายได้ และผิดกฎหมาย คือ  กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law) สาระของกฎหมายนี้มุ่งเน้นให้การคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัว ไม่ให้มีการนำข้อมูลของบุคคลไปใช้ในทางมิชอบ

 2) “นาย J ได้ทำการสร้างโฮมเพจ เพื่อบอกว่าโลกแบนโดยมีหลักฐาน อ้างอิงจากตาราต่างๆ อีกทั้งรูปประกอบ เป็นการทำเพื่อความสนุกสนาน ไม่ได้ใช้ในการอ้างอิงทางวิชาการใดๆ เด็กชาย K เป็นนักเรียนในระดับประถมปลายททำรายงานส่งครูเป็นการบ้านภาคฤดูร้อนโดยใช้ข้อมูลจากโฮมเพจของนาย J” การกระทำอยางนี้เป็น ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมายใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย


ตอบ  การกระทำนี้อาจกระทำขึ้นด้วยความสนุกสนาน ไม่ได้ตั้งใจทำให้เกิดความเสื่อมเสียถึงผู้ใด แต่การกระทำเช่นนี้อาจทำให้เกิดความรำคาญแก่ผู้อื่น จึงเป็นการทำผิดจริยธรรมโดยตรง ทั้งการปลอมหลักฐาน และการหลอกลวง โดยไม่มีการทำการพิสูจน์ และยืนยันจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถและขาดความน่าเชื่อถือ อาจทำให้ตนเองหมดความน่าเวื่อถือไปด้วย 

แบบฝึกหัดบทที่ 7 (กิจกรรม 7)

แบบฝึกหัดบทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ

 แบบฝึกหัดที่ 7


   บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ                                                                  กลุ่มเรียนที่ 4     

   รายวิชา กาารจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                                          รหัสวิชา 0026008

   ชื่อ-สกุล  นายพงศ์เทพ  ทรงคาศรี                                                                       รหัส 56010914267



1. หน้าที่ของไฟร์วอลล์ (Fire-well) คือ เป็นระบบรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์แบบหนึ่งที่
นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีทั้งอุปกรณ์ Hardware และ Software โดยหน้าที่หลัก ๆ ของ Firewall นั้น
จะทำหน้าที่ควบคุมการใช้งาน
ระหว่าง Network ต่าง ๆ

2.จงอธิบายคำศัทพ์ต่อไปนี้ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสคอมพิวเตอร์ worm,virus computer,spy ware,adware
มาอย่างน้อย 1 โปรแกรม
ตอบ Worm เป็นไวรัสประเภทหนึ่งที่ก่อกวน สามารถทำสำเนาตัวเอง (copy) และแพร่กระจายไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์
เครื่องอื่นๆ ได้ ทำให้คอมพิวเตอร์ส่วนตัว และในระบบเครือข่ายเสียหายไวรัส วอร์ม นี้ปัจจุบันมีหลากหลายมาก มีการแพร่
กระจายของไวรัสได้รวดเร็วมาก ทั้งนี้เนื่องจากไวรัส วอร์ม จะสามารถแพร่กระจายผ่านทางอีเมล์ได้ ไม่ว่าจะเป็น
Outlook Express หรือ Microsoft Outlook

3.ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง
ตอบ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ Application viruses และ System viruses

4..ให้นิสิตอธิบายแนวทางในการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์มาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ  1.สร้างแผ่นบูต emergency disk เพื่อใช้ช่วยในการกู้ระบบ การสร้างแผ่น emergency disk
หรือบางครั้งอาจเรียกว่า Rescure disk นั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเครื่องติดไวรัสที่ไม่สามารถ
จะกำจัดได้โดยผ่านระบบปฏิบัติการวินโดวส์ หรือผลกระทบของไวรัสที่ทำให้เครื่องไม่สามารถบูต
ได้ตามปกติเราก็สามารถใช้แผ่น emergency diskมาช่วยในการกู้ข้อมูลและกำจัดไวรัสออกจนทำ
ให้บูตเครื่องได้ตามปกติ
         2.ปรับปรุงฐานข้อมูลไวรัสทุกวันหรืออย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง ขั้นตอนนี้เปรียบเสมือนหัวใจ
ของการใช้งานโปรแกรมป้องกันไวรัส เนื่องจากไวรัสคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาออกมาใหม่ทุกวัน
ดังนั้นจึงควรที่จะสอนโปรแกรมป้องกันไวรัสให้รู้จักไวรัสชนิดใหม่ๆด้วย โดยการปรับปรุงฐานข้อมูล
ไวรัสที่ใช้งานนั่นเอง
         3.เปิดใช้งาน auto - protect โดยส่วนใหญ่โปรแกรมป้องกันไวรัสที่ติดตั้งจะทำการสร้าง
โพรเซสที่จะตรวจหาไวรัสตลอดเวลา เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสสามารถถูกเอ็กซิคิวต์ในเครื่องได้
         4.ก่อนเปิดไฟล์จากแผ่นที่นำมาใช้จากที่อื่นให้สแกนหาไวรัสก่อน แผ่นดิสก์ที่นำไปใช้ที่อื่นแล้ว
นำกลับมาเปิดที่เครื่อง จะมั่นใจได้อย่างไรว่าแผ่นนั้นไม่มีไวรัสอยู่ ดังนั้นควรจะตรวจหาไวรัสใน
แผ่นก่อนที่จะเปิดอ่านข้อมูลที่ถูกบรรจุในแผ่นดิสก์ดังกล่าว
         5.ทำการตรวจหาไวรัสทุกสัปดาห์ ในแต่ละสัปดาห์แน่นอนว่ามีไฟล์ที่ผ่านเข้าออกเครื่องมาก
มายไม่ว่าจะเป็น อี-เมล์ที่ได้รับ ไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาจากอินเทอร์เน็ต ตลอดจนไฟล์ชั่วคราวของ
โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ที่เก็บในแต่ละครั้งที่เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ แล้วจะแน่ใจได้อย่างไรว่าไฟล์เหล่า
นั้นไม่มีไวรัสแฝงตัวมา ดังนั้นจึงควรที่จะทำการตรวจหาไวรัส โดยการสแกนหาทั้งระบบ อาจจะเป็น
ทุกเย็นของวันศุกร์ก่อนกลับบ้านก็เป็นได้

5.มาตรการด้านจริยธรรมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการใช้อินเทอเน็ตที่เหมาะสมกับสังคม
ปัจจุบันได้แก่
ตอบ 1. กฏหมายคุ้มครองข้องมูลส่วนบุคคล
        2. กฏหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
        3. กฏหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
        4. กฏหมายการแลกเปลี่ยนข้อมูงทางอิเล็กทอนิกส์
        5. กฏหมายลายมือชื่ออิเล็กทอนิกส์
        6. กฏหมายการโอนเงินทางอิเล็กทอนิกส์
        7. กฏหมายโทลคมนาคม
        8. กฏหมายระหว่างประเทศ
        9. กฏหมายืั้เกี่ยวเนื่องกับระบบอินเตอร์เน็ต
       10. กฏหมายพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอิเล็กทอนิกส์และคอมพิวเตอร์

แบบฝึกหัดบทที่ 6 (กิจกรรม 6)

แบบฝึกหัดบทที่ 6 การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน


แบบฝึกหัด 6



   บทที่ 6 การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวั                                   กลุ่มเรียนที่ 4             รายวิชา กาารจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                                รหัสวิชา 0026008

   ชื่อ-สกุล  นายพงศ์เทพ  ทรงคาศรี                                                                        รหัส 56010914267



1. การประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นความหมายของข้อใด?
    1. เทคโนโลยีสารสนเทศ
    2. เทคโนโลยี
    3. สารสนเทศ
    4. พัฒนาการ
2. เทคโนโลยีสารสนเทศใดก่อให้เกิดผลด้านการเสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม?
    1. ควบคุมเครื่องปรับอากาศ
    2. ระบบการเรียนการสอนทางไกล
    3. การสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
    4. การพยากรณ์อากาศ
3.การฝากถอนเงินผ่านตู้ ATM เป็นลักษณะเด่นของเทคโนโลยีสารสนเทศข้อใด?
    1. ระบบอัตโนมัติ
    2. เปลี่ยนรูปเเบบการบริการเป็นเเบบกระจาย
    3. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่างๆ
    4. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
4. ข้อใดคือการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ?
    1. ระบบการโอนถ่ายเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
    2. บัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต
    3. การติดต่อข้อมูลทางเครือข่าย
    4. ถูกทุกข้อ
5. เทคโนโลยีสารสนเทศหายถึงข้อใด?
    1. การประยุกต์เอาความรู้มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์
    2. ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี
    3. การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาสร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ
    4. การนำเอาคอมพวิเตอร์มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล
6.เครื่องมือที่สำคัญในการจัดการสารสนเทศในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร?
    1. เทคโนโลยีการสื่อสาร
    2. สารสนเทศ
    3. คอมพิวเตอร์
    4. ถูกทุกข้อ
7. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ?
    1. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
    2. เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถเปลี่อนสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน หรือสอบถามผลสอบได้
    3. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้บุคคลทุกระดับติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว
    4. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มีการสร้างหอพักอาศัยที่มีคุณภาพ
8. ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ที่ช่วยงานด้านสารสนเทศ?
    1. เครื่องถ่ายเอกสาร
    2. เครื่องโทรสาร
    3. เครื่องมินิคอมพิวเตอร์
    4. โทรทัศน์ วิทยุ
9. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ?
    1. เป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจ
    2. พัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านฮาร์ดเเวร์ ซอฟต์เเวร์ ข้อมูล และการสื่อสาร
    3. ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
    4. จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น
10.  ข้อใดคือประโยชน์ที่ได้จากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการเรียน?
    1. ตรวจสอบผลการลงทะเบียน ผลการสอบได้
    2. สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากเเหล่งข้อมูลที่มีอยู่ทั่วโลกได้
    3. ติดต่อสื่อสารกับเพื่อน ครู อาจารย์ หรือส่งงานได้ทุกที่
    4. ถูกทุกข้อ

แบบฝึกหัดบทที่ 5 (กิจกรรม5)

แบบฝึกหัดบทที่ 5 การจัดการสารสนเทศ 


                                                                           แบบฝึกหัดที่ 5


บทที่5 
การจัดการสารสนเทศ                                                                                 กลุ่มเรียนที่ 4
รายวิชา กาารจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                                      รหัสวิชา 0026008
ชื่อ-สกุล  นายพงศ์เทพ  ทรงคาศรี                                                                   รหัส 56010914267


1. จงอธิบายความหมายของการจัดการสารสนเทศ
     – การจัดการสารสนเทศ หมายถึง การจัดกิจกรรมหลัก ต่างๆ ในการจัดหา การจัดโครงสร้าง(organization) การควบคุม ผลิต การเผยแพร่และการใช้สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับ  การดำเนินงานขององค์การทุกประเภทอย่างมีประสิทธิผล ซึ่งสารสนเทศในที่นี้หมายถึงสารสนเทศทุกประเภทที่มีคุณค่าไม่ว่าจะมีแหล่ง กำเนิดจากภายในหรือภายนอกองค์การ

2. การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลและองค์การอย่างไร
  – การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลในการดำรงชีวิตประจำวัน การศึกษา และการทำงานประกอบอาชีพ ต่างๆ ความสำคัญในด้านการทำงาน บุคคลจำเป็นต้องใช้สารสนเทศทั้งที่เกี่ยวข้องกับองค์การ ภาระหน้าที่ ประกอบการทำงานทั้งระดับบริหารและระดับปฏิบัติการการจัดเก็บสารสนเทศที่ เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบตามภารกิจส่วนตัว ช่วยสนับสนุนให้สามารถทำงานให้ประสบความสำเร็จได้ทันการณ์ ทันเวลา

3. พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ยุค อะไรบ้าง
        – สามารถแบ่งออกเป็น 2 ยุค คือ
  • การจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือ
  • การจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์

4. จงยกตัวอย่างการจัดการสารสนเทศที่นิสิตใช้ในชีวิตประจำวันมา อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง
  1. การสื่อสารทางไกล ด้วยระบบ Internet
  2. การค้นหาข้อมูล ซึ่งมีความรวดเร็ว
  3. การติดตามข่าวสาร

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บทความที่ 2 7 วิธี ต่อสู้กับวิกฤติเศรษฐกิจ

                    7 วิธี ต่อสู้กับวิกฤติเศรษฐกิจ ของธุรกิจต่าง


ในช่วงเศรษฐกิจที่ตกต่ำทั่วโลกเช่นนี้ คงต้องยอมรับความจริงที่ว่า ความต้องการในตลาดลดลงทำให้ธุรกิจหลายรายประสบความล้มเหลว ถึงขั้นต้องปิดกิจการ อย่างไรก็ไม่ควรนิ่งดูดายควรหาทางที่จะรับมือกับ อนาคตของธุรกิจของท่านที่จะเกิดขึ้น ลองมาดูเกร็ดความรู้ที่อาจจะช่วยได้ในยามนี้

1. พยายามรักษาการไหลเวียนของเงินสดไว้ให้ดี (Protect your cash flow) กระแสเงินสดเปรียบเสมือนเลือดที่หล่อเลี้ยงธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจยังคงมีชีวิตอยู่ได้ เงินสดจำเป็นต้องมีการไหลเวียนอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเจอกับวิกฤติเช่นใดก็ตาม เพราะฉะนั้น ในช่วงนี้ธุรกิจต้องให้ความสำคัญอย่างมากกับการดำเนินกลยุทธ์เพื่อคงสภาพของกระแสเงินสดไว้ให้มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา

2. ทบทวนวิธีปฎิบัติเกี่ยวกับการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Review your inventory management practices) เพื่อเป็นการลดต้นทุนทางธุรกิจโดยไม่ต้องลดคุณภาพของสินค้าและบริการ หรือลดการอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า สิ่งที่ต้องทบทวนโดยการตอบคำถามที่ว่า ธุรกิจมีการสั่งซื้อสินค้าเข้ามามากเกินไปในแต่ละครั้งหรือไม่ ? รายการสินค้าที่ซื้อเข้ามานั้นมีที่อื่นที่จะสามารถซื้อมาได้ในราคาถูกกว่าหรือไม่ ?
    มีวิธีการอื่นไหมในการส่งสินค้าที่ช่วยลดขั้นตอนการขนส่งและลดต้นทุนสินค้าคงคลัง ? ถึงเวลาที่ธุรกิจต้องทบทวนสิ่งเหล่านี้ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องยึดติดอยู่กับซัพพลายเออร์เดิม หรือวิธีการเดิมในการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง ตราบใดที่สิ่งใหม่ๆ จะสามารถช่วยให้ประหยัดต้นทุนได้เพิ่มขึ้น

3. เน้นเฉพาะสินค้าและบริการหลักของธุรกิจเท่านั้น (Focus on your core competencies) การสร้างให้เกิดความหลากหลายในสินค้าและบริการ ก็เป็นหลักการบริหารจัดการอีกวิธีหนึ่งที่มักจะมีการแนะนำเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจ แต่ในภาวะที่ทุกอย่างต้องทำด้วยความระมัดระวังเช่นนี้ การทุ่มเวลาและทรัพยากรทั้งหมดที่มีอยู่มาให้ความสำคัญเฉพาะสิ่งที่ธุรกิจทำได้ดีที่สุด และสามารถทำกำไรให้ธุรกิจมากที่สุดดีกว่า

4. พัฒนากลยุทธ์สำหรับการแย่งชิงลูกค้าจากคู่แข่งขัน (Develop and implement strategies to get your competition’s customers) ถ้าธุรกิจต้องการที่จะรุ่งโรจน์ในช่วงวิกฤติเช่นนี้ สิ่งหนึ่งที่จะต้องทำคือ การขยายลูกค้า หรือฐานลูกค้าออกไป ซึ่งนั่นหมายถึง การฉกฉวยเอาลูกค้าของคู่แข่งขันในธุรกิจมาไว้ในมือ สิ่งที่จะทำได้ก็โดยหาและสร้างสิ่งที่แตกต่างจากคู่แข่งขันให้ได้ มีการวิจัยเกี่ยวกับสถานการณ์การแข่งขัน โดยเฉพาะตัวคู่แข่งขัน เพื่อดูว่า อะไรที่จะสามารถนำเสนอแล้วดึงดูดความสนใจให้ลูกค้าหันมาใช้สินค้าและบริการของธุรกิจเรา การให้บริการที่ดีแก่ลูกค้าเพิ่มขึ้นอาจเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดวิธีหนึ่งในการฉกฉวยลูกค้ามาจากคู่แข่ง
5. รักษาลูกค้าที่มีอยู่ไว้ให้มากที่สุด (Make the most of the customers/clients you have) การรักษาลูกค้าเดิมไว้นับเป็นสิ่งสำคัญในยุคปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจาก โอกาสที่เขาและเธอจะเพิ่มยอดซื้อในสินค้ามีมากกว่าการที่จะเสียต้นทุนในการค้นหาลูกค้ารายใหม่ หลักการบริหารจัดการอันหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในกรณีนี้คือ การบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relation Management : CRM)

6. ทำการตลาดอย่างต่อเนื่อง (Continue to market your business) ในภาวะรัดเข็มขัด ธุรกิจหลายแห่งหันมาตัดงบประมาณทางด้านการโฆษณาลง ซึ่งหารู้ไม่ว่าในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจเช่นนี้ การตลาดเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะเป็นช่วงที่ผู้บริโภคกำลังอยู่ระหว่างการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนแปลงการซื้อสินค้าและบริการ ธุรกิจจะต้องช่วยให้ผู้บริโภคได้หันมาสนใจและเลือกใช้สินค้าและบริการที่ธุรกิจมี มากกว่าที่จะปล่อยให้ผู้บริโภคตัดสินใจเอง ถ้าเป็นไปได้ ควรเพิ่มความพยายามในการทำการตลาดมากขึ้นกว่าเดิมเสียด้วยซ้ำ

7. รักษาเครดิตส่วนบุคคลไว้ให้คงอยู่ (Keep your personal credit in good shape) ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ การกู้ยืมเงินโดยเฉพาะกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดูจะเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าคุณมีเครดิตส่วนบุคคลที่ยังพอไปได้ อาจจะเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยให้ธุรกิจมีเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น



อ้างอิ้ง http://www.thaifranchisecenter.com/document/show.php?docuID=871 (30/06/10)